ยินดีต้อนรับเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

วิชา GEN1102เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
Section.AE  รหัสนักศึกษา 581473099
นางสาวอารียา หัตถกอง

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมาของอำเภอเวียงแก่น



คำขวัญ :เจ้าหลวงเวียงแก่น ชายแดนไทยลาว น้ำงาวพราวใส ผาไดเด่นดัง ผาตั้งเด่นนาน ส้มโอหวานทองดี
ข้อมูลติดต่อ :ที่อยู่. 81 หมู่ที่ 3 ถนนหล่ายงาว - ห้วยลึก ตำบลม่วงยาย อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
โทร. 0-5360-8219
แฟกซ์. 0-5360-8219
ประวัติความเป็นมา :
กิ่งอำเภอเวียงแก่น ตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2530 และได้เปิดทำการให้บริการประชาชนตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค.2530 เป็นต้นมา โดยแบ่งท้องที่การปกครองจาก อ.เชียงของ จ.เชียงราย ออกมาตั้งเป็นกิ่ง อ.เวียงแก่น มีท้องที่การปกครอง 3 ตำบลประกอบด้วย ต.ม่วงยาย ต.หล่ายงาว ต.ปอ ทางทิศใต้ของที่ว่าการอำเภอเวียงแก่นปัจจุบัน ในอดีตเคยเป็น"เมืองเวียงแก่น" ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำงาว มีอายุประมาณ 700 ปี ราว ๆ สมัยกรุงสุโขทัยและเมืองเชียงราย มีเนื้อที่ประมาณ 90 ไร่เศษ มีคูน้ำล้อมทั้ง 4 ทิศ ลึกประมาณ 10 เมตร โดยตลอดมีกำแพงกั้นอาณาเขต ของตัวเมืองอย่างแน่นหนา มี "เจ้าหลวงเวียงแก่น" เป็นผู้ครองเมือง ต่อมาได้เกิดสงครามสู้รบกับกองทัพของพ่อขุนเม็งรายมหาราช จากการสู้รบครั้งนั้น เจ้าหลวงเวียงแก่นผู้ครองเมือง ได้สิ้นพระชนม์ในที่รบไปด้วย จากนั้นเมืองเวียงแก่นได้ถูกทิ้งร้าง ดังนั้น เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแก่เจ้าหลวงเวียงแก่น ซึ่งเป็นผู้ครองเมืองเวียงแก่นในอดีต และเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ กิ่งอำเภอ ที่ตั้งขึ้นใหม่ ประชาชนทั้ง 3 ตำบลจึงได้เสนอชื่อกิ่งอำเภอว่า "กิ่งอำเภอเวียงแก่น" ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเวียงแก่น เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2538

พื้นที่ / ลักษณะภูมิอากาศ
เนื้อที่ / พื้นที่ 526 ตร.กม.
สภาพภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว
 
การปกครอง
หมู่บ้าน 41 หมู่บ้าน   ตำบล 4 ตำบล
เทศบาล 0 แห่ง   องค์การบริหารส่วนตำบล 4 แห่ง
         
อาชีพ
อาชีพหลัก เกษตรกรรม เช่นการเพาะปลูกข้าวเหนียว ข้าวเจ้า ขิง ข้าวโพด การทำสวนส้มโอ ส้มเขียวหวาน ผลไม้เมืองหนาว ผักปลอดสารพิษ หอมหัวใหญ่
อาชีพรอง การทอผ้า หัตถกรรมชาวเขา เครื่องจักสาน เครื่องเงิน การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากส้มโอ และกล้วย และรับจ้างทั่วไป
 
การศึกษา
โรงเรียนประถม 29  โรง
โรงเรียนมัธยม 1  โรง
วิทยาลัย / มหาวิทยาลัย 0  แห่ง
   
ศาสนา
วัด 30 แห่ง
โบสถ์ 2 แห่ง
มัสยิด / สุเหร่า 0 แห่ง
   
ประชากร
จำนวนประชากรชาย 16,485 คน
จำนวนประชากรหญิง 15,923 คน
รวม 32,408 คน
ความหนาแน่น 61.61 คน/ตร.กม.
   
การเกษตรและอุตสาหกรรม
ผลผลิตทางการเกษตร ส้มโอ ส้มเขียวหวาน ข้าวโพด ขิง หอมหัวใหญ่ ผักปลอดสารพิษ
แหล่งน้ำสำคัญ แม่น้ำงาว แม่น้ำโขง ลำห้วยวอง อ่างเก็บน้ำห้วยวอง อ่างเก็บน้ำขุมดิน อ่างเก็บน้ำทุ่งคำ อ่างเก็บน้ำห้วยเอียน อ่างเก็บน้ำห้วยน๊อต อ่างเก็บน้ำทุ่งควน
โรงงานอุตสาหกรรม โรงงานผลิตผักกาดดองกระป๋อง (บริษัท อ.เจริญชัย (2001) จำกัด)
แบ่งการปกครองเป็น 4 ตำบล , 41 หมู่บ้าน
ประกอบด้วยตำบล :
  ตำบลม่วงยาย รหัสไปรษณีย์ 57310
        
       หน่วยงานปกครอง :      
             เทศบาลตำบลม่วงยาย    ( โทร - แฟ็กซ์ 0-5360-8000-1 )

  ตำบลปอ รหัสไปรษณีย์ 57310
       หมู่ที่ 1 บ้านปางปอ, หมู่ที่ 2 บ้านปางหัด, หมู่ที่ 3 บ้านดอน, หมู่ที่ 4 บ้านหนองเตา, หมู่ที่ 5 บ้านปอกลาง, หมู่ที่ 6 บ้านผาแล, หมู่ที่ 7 บ้านทรายทอง, หมู่ที่ 8 บ้านห้วยคุ, หมู่ที่ 9 บ้านห้วยหาน, หมู่ที่ 10 บ้านอยู่สุข, หมู่ที่ 11 บ้านร่มโพธิ์เงิน, หมู่ที่ 12 บ้านร่มฟ้าหลวง, หมู่ที่ 13 บ้านฟ้าไทยงาม, หมู่ที่ 14 บ้านผาตั้ง, หมู่ที่ 15 บ้านร่มฟ้าผาหม่น, หมู่ที่ 16 บ้านศิลาแดง, หมู่ที่ 17 บ้านห้วยปอ, หมู่ที่ 18 บ้านร่มฟ้าทอง, หมู่ที่ 19 บ้านสันติพัฒนา, หมู่ที่ 20 บ้านห้วยกุ๊ก
       หน่วยงานปกครอง :      
             องค์การบริหารส่วนตำบลปอ    ( โทร. 053-918265 ,053-918469  )

  ตำบลหล่ายงาว รหัสไปรษณีย์ 57310
        หมู่ที่ 1 บ้านหล่ายงาว, หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งคำ, หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งทราย, หมู่ที่ 4 บ้านท่าข้าม, หมู่ที่ 5 บ้านแจมป๋อง, หมู่ที่ 6 บ้านห้วยเอียน
       หน่วยงานปกครอง :      
             เทศบาลตำบลหล่ายงาว   ( โทรศัพท์/โทรสาร 0-5360-8202  )

  ตำบลท่าข้าม รหัสไปรษณีย์ 57310

 


ศิลปะวัฒนธรรม / ประเพณีของชาวเวียงแก่น

เผ่าไทลื้อ


ไทลื้อ หรือ คนลื้อ เป็นชาวไทยกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแถบสิบสองปันนาของจีน มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือการใช้ภาษาลื้อ และยังมีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์อื่นๆ เช่น การแต่งกาย ศิลปะและประเพณีต่าง ๆ

มีประเพณีที่สำคัญดังนี้
- พิธีเลี้ยงปางแปด เป็นการอันเชิญเจ้าป่าเจ้าเขาให้มาปกปักษ์รักษาพืชผลที่ทำการเพาะปลูกไว้ จัดในช่วงเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน ของทุกปี
- พิธีถายหนังแดง เป็นพิธีการขอฝนเพื่อความอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูก จัดขึ้นในช่วงเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน ของทุกปี



พิธีสู่ขวัญของชาวไทลื้อ


พิธีสู่ขวัญ หรือเรียกว่า การบายศรีสู่ขวัญ เป็นประเพณีดั้งเดิมเก่าแก่ของชาวไทลื้อ นิยมกระทำสืบเนื่องติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ถือว่าเมื่อทำพิธีเเล้วจะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เป็นกำลังใจในการที่จะประกอบคุณงาม ความดีต่อไป

เผ่าม้ง
ชาวไทยภูเขาเผ่าม้งได้ตระหนักถึงคุณค่าและหวงแหนการสืบทอดประเพณีของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ถือโอกาสกลับบ้านพบปะครอบครัว ฉลองปีใหม่ม้งกันอย่างคึกคัก



สำหรับประเพณีปีใหม่ม้ง เช่น การโยนลูกช่วงตามประเพณี การแสดงเต้นรำของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง การร้องเพลง การเเข่งขันกีฬาพื้นบ้าน การเเข่งขันตีลูกข่าง วิ่งเปรี้ยว การเเข่งขันชักกะเย่อ การเเสดงละครบนเวที ซึงทุกปีบรรยากาศเป็นไปอย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะบรรดาหนุ่มสาวที่ต้องไปเรียนหรือทำงานต่างจังหวัด ได้มีดอกาสกลับมาร่วมงานประเพณีท้องถิ่นปีใหม่ม้งอย่างอบอุ่น
เผ่าจีนฮ้อ

ชาวจีนฮ่อ มีงานปีใหม่เช่นเดียวกันกับจีน มีการเซ่นไหว้เจ้าที่ด้วยอาหาร ผลไม้ จุดประทัด ทุกคนต่างหยุดงาน และแต่งกายสวยงามเลี้ยงสุราอาหาร ให้ของขวัญแก่กัน มีการไหว้บิดามารดาหรือสามีภรรยาที่ล่วงลับไปแล้ว

วัฒนธรรมเเละประเพณีของชาวจีนฮ้อ

ชาวจีนฮ้อ มีงานปีใหม่เช่นเดียวกันกับจีน มีการเซ่นไหว้เจ้าที่ด้วยอาหาร ผลไม้ จุดประหยัด ทุกคนต่างหยุดงาน เเละเเต่งการสวยงามเลี้ยงสุราอาหาร ให้ของขวัญแก่กัน มีการไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว




แก่งผาได ชายแดนไทย-ลาว


ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านห้วยลึก ตำบลม่วงยาย อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 14 กิโลเมตร 


เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของตำบลม่วงยาย มีพื้นที่ประมาณ 17 ไร่ เป็นสวนสาธารณะพักผ่อนหย่อนใจ มองเห็นธรรมชาติที่สวยงาม โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายน – เดือนพฤษภาคม จะเป็นช่วงน้ำลดน้อยลง ทำให้มองเห็นโขดหินที่โผล่พ้นแม่น้ำ ปกคลุมไปด้วยพื้นพันธ์ธรรมชาติ ประกอบกับอากาศที่บริสุทธิ์ มองเห็นฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขง คือ สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 



แก่งนี้นอกจากปกคลุมด้วยทรายแล้ว ยังมีก้อนหินขนาดเล็กมากมาย ก้อนหินเหล่านี้จะเป็นแหล่งกำเนิดไก เช่นเดียวกับแก่งหินใต้น้ำ หาดทรายยังเป็นที่อาบน้ำเล่นทรายของนกอีกด้วย และมีแก่งหินที่มีลักษณะเป็นแท่งหินตั้งอยู่ในแม่น้ำโขง ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนแม่น้ำจึงมีพืชริมน้ำขึ้นอยู่ คือ ต้นไคร้ ต้นไคร้หางนาคขึ้นอยู่จำนวนมาก ผาในแม่น้ำโขงบริเวณนี้จมอยู่ใต้น้ำในฤดูน้ำหลาก และโผล่เหนือน้ำในฤดูน้ำลดมีทัศนียภาพที่สวยงาม จนมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเดินทางมาล่องเรือเล็กชมความงดงามของลำน้ำโขง นักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวภูชี้ฟ้า ผาตั้ง ก็จะแวะมาท่องเที่ยวที่แก่งผาไดแห่งนี้ด้วย

ดอยผาตั้ง หรือ ภูผาตั้ง ประตูสยาม ชายแดนไทย-ลาว

ลมเย็นแห่งเหมันตฤดูพัดเอื่อยโชยมายามเช้าตรู่ ท้องฟ้าสีฟ้าอมชมพูแกมแสดที่เห็นอยู่สุดริมขอบฟ้าเบื้องหน้ามีทะเลหมอกที่สวยงามกว้างไกลสุดสายตา บรรยากาศก็เย็นสบาย สามารถมองเห็นทะเลหมอกได้รอบตัว ยามบ่ายเมื่อสายหมอกจางลง เผยให้เห็นแม่น้ำโขงที่ลัดเลาะไปตามทิวเขา ที่สลับซับซ้อนของประเทศลาว โดยเฉพาะช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ดอกซากุระและดอกเสี้ยวจะบานสะพรั่งงดงาม 

ดอยผาตั้ง เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาดอยผาหม่น ซึ่งเป็นเทือกเขาแนวพรมแดนไทย-ลาว สูง 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ดอยผาตั้งถือเป็นเป็นจุดชมวิวไทย-ลาว และทะเลหมอกที่สวยงามไม่แพ้ภูชี้ฟ้า รถยนต์สามารถขึ้นเกือบถึงจุดชมวิวบริเวณเนินร้อยสามได้ บนจุดชมวิวจะเป็นแนวเขาซึ่งชมวิวได้ตลอดแนว 




 ศาลาทรงเก๋งจีน-พระพุทธมังคลานุภาพลาภสุขสันติ-ป่าหินยูนาน
ถัดจากช่องผาบ่องขึ้นไปอีกราว 15 เมตร จะเป็นเนินที่ประดิษฐานพระพุทธมังคลานุภาพลาภสุขสันติและศาลาทรงเก๋งจีน อนุสรณ์สถานของนายพลหลี่ ผู้นำ ทจช. ในอดีต จากเนินตรงนี้เดินลงไปอีก 30 เมตร ก็จะพบทางขึ้นไปชม ป่าหินยูนนาน ซึ่งเป็นหินรูปทรงลักษณะคล้ายภูเขาในประเทศจีนที่มีรูปทรงสูงๆ หลายแหลมขึ้นสลับทับซ้อนสวยงามมาก 


ภูชี้ฟ้า


ภูชี้ฟ้า เป็นยอดเขาสูงที่สุดในเทือกเขาดอยผาหม่น  ติดชายแดนไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อยู่ในพื้นที่เขตอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติด้วยลักษณะหน้าผาปลายยอดแหลม เป็นแนวยาวที่ชี้ไปบนฟ้า ทางฝั่งประเทศลาว จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า ภูชี้ฟ้านั่นเอง ด้านที่ติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นับเป็นจุดชมวิวที่สวยที่สุด ทั้งนี้ กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งให้จัดตั้ง ภูชี้ฟ้าเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541 ด้วยเนื้อที่ประมาณ 2,500ไร่ สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,200 เมตร ถึง 1,628 เมตร
          สำหรับไฮไลท์สำคัญของภูชี้ฟ้า ต้องยกให้จุดชมวิวทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงาม อีกทั้งทิวทัศน์ของภูเขาสลับซับซ้อนดูกว้างไกล โดยในตอนเช้าจะมีทะเลหมอกปกคลุมในหุบเขาเบื้องล่าง มีพระอาทิตย์ขึ้นผ่านพ้นทะเลหมอก ท่ามกลางทุ่งหญ้า แซมด้วยทุ่งดอกโคลงเคลง (ในช่วงฤดูฝนไปจนถึงฤดูหนาว) สวยงามราวกับภาพวาด อย่าบอกใครเชียว!!!  และหากรอจนสายหมอกถูกความร้อนระเหยหมดแล้ว ก็ยังคงมองเห็นสายน้ำโขงไหลคดเคี้ยว ท่ามกลางป่าไม้ของฝั่งลาวที่เขียวสุดสมบูรณ์อีกด้วย  หากมาเที่ยวภูชี้ฟ้า ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม เส้นทางขึ้นภูชี้ฟ้าจะผ่านป่าซากุระหรือต้นพญาเสือโคร่งสีชมพูสวยงามมากอีกเช่นกัน


วนอุทยานแห่งนี้นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาในช่วงฤดูหนาวเพื่อที่จะได้สัมผัสอากาศที่หนาวเย็น และได้ชมความงามของดอกชงโคป่าสีขาวที่ออกดอกบานสะพรั่ง นอกจากนี้การเดินทางมาในช่วงนี้ยังจะได้สัมผัสทะเลหมอกที่เหมือนดั่งประโยคที่ว่า “สายหมอกโอบกอดขุนเขา” สามารถกางเต็นต์พักผ่อนได้


ภูชี้ดาว


ปลายทางหนาวที่ ภูชี้ดาว เป็นจุดชมวิวทะเลหมอกที่สวยงาม ไม่แพ้ภูชี้ฟ้า  ซึ่งวันไหนสภาพอากาสเปิด สามารถมองเห็นยอดภูชี้ฟ้าได้ชัดเจน ภูชี้ดาวตั้งอยู่บนพื้นที่ในความดูแลของตำบลปอ อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย จุดเด่นของภูชมดาวอยู่ที่ยอดสูงสุด สามารถมองเห็นวิวได้ 360 องศา ไม่มีต้นไม้ สิ่งก่อสร้างใดๆมาบดบัง  มีแนวรั้วไม้ไผ่กันเขตแดนป้องกันอันตรายมาสร้างเป็นจุดเด่นบนยอดชมวิวแห่งนี้  เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยังใหม่ ทุกอย่างยังคงอุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติ ป่าเขา ต้นไม้ ทิวทัศน์ทะเลหมอก 

เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการค้นหาสถานที่ใหม่ๆ ในบรรยากาศแสนโรแมนติก ไม่วุ่ยวายด้วยผู้คน เสียงรถวิ่งผ่าน ที่นี่จะได้สัมผัสกับธรรมชาติจริงๆ 


การเดินขึ้นสู่ยอดภูชี้ดาว จะต้องใช้รถ 4x4 เท่านั้น  ขับรถขึ้นไปตามถนนในหมู่บ้าน ระยะทางราว 3 กิโลเมตร จะเจอสามแยกด้านหน้าเป็นศูนย์ปฏิบัติการทหารพราน บ้านร่มโพธิ์เงิน ร้อย ทพ.3104 ฉก.ทพ.31   ให้เลี้ยวซ้ายไปตามป้ายบอกทางแล้ววิ่งขึ้นสู่ถนนดิน  จากตรงนี้เส้นทางบางช่วงแคบและชัน ควรขับรถด้วยความระมัดระวัง เมื่อถึงจุดจอดรถด้านบน ต้องเดินเท้าต่อไปบนยอดภูชี้ดาวอีก ราวๆ 200 เมตร 


ด้านบนไม่มีที่พัก ร้านอาหาร  ดังนั้นควรเตรียมน้ำดื่มไปให้พอกับความต้องการ ยาดม เพราะอาจต้องใช้ตอนเดินขึ้นสู่ยอดดอย ถุงเท้ากันทาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ชื้นและยังใหม่ อาจเจอกับตัวทากได้ ดังนั้นเตรียมสเปรย์หรือถุงเท้ากันทากเดินทางไปด้วย

ภูชี้ดาว นี้อาจจะยังไม่เหมาะสำหรับเด็กเล็กและคนแก่ เนื่องจากพื้นที่ทางเดินขึ้นไปต้องเดินแบบไล่ตามระดับสันเขาขึ้นไปเรื่อยๆ หากร่างกายไม่พร้อมจะเหนื่อยได้  อีกอย่างบริเวณสันเขาบนยอดภูชี้ดาว มีพื้นที่ไม่มาก สองด้านเป็นเหวลึก หากพาเด็กไปด้วยควรระมัดระวัง หรือคนแก่ในความดูแลของท่านไว้ให้ดี เมื่อเห็นว่ามีคนเดินขึ้นไปเยอะๆ ไม่ควรรีบเดินซ้อนขึ้นไป เพราะอาจเสี่ยงต่อการพลัดตกลงยอดเขาได้

บริเวณลานจอดรถด้านบนเอง ตอนนี้กำลังพัฒนาให้เป็นจุดกางเต้นท์  ถ้าหากต้องการเดินทางไปแบบกางเต้นท์ ค้างแรม ลองสอบถามข้อมูลก่อนการเดินทางจากกำนัน หรือผู้นำชุมชน ตามข้อมูลด้านล่างก่อนทุกครั้ง